

การปฐมพยาบาลเมื่อแมลงหรือสัตว์มีพิษกัดต่อย
แมลงที่มีเหล็กใน


แมลงหลายชนิด มีเหล็กในไว้เป็นอาวุธป้องกันตัว เช่น ผึ้ง ต่อ แตน เป็นต้น เมื่อต่อยแล้วมักจะทิ้งเหล็กในไว้ภายในบาดแผล เหล็กใน จะมีพิษ พิษของแมลงพวกนี้ มักมีฤทธิ์เป็นกรด บริเวณที่ ถูกต่อยจะบวมแดง คัน และปวด (บุญส่ง เอี่ยมละออ. 2543 :127)
วิธีการปฐมพยาบาล

พยายามเอาเหล็กในออกให้หมด โดยใช้วัตถุที่มีรู เช่น ลูกกุญแจกดลงไป ตรงรอยที่ถูกต่อย ให้รอยที่แมลงต่อยอยู่ตรงกลาง เหล็กในจะโผล่ขึ้นมา ให้คีบดึงเหล็กในออก จากนั้นก็ทานยาแก้ปวด
แมงป่องหรือตะขาบ

ผู้ที่ถูกแมงป่องต่อยหรือถูกตะขาบกัด จะมีอาการเจ็บปวดมากกว่า ถูกแมลงชนิดอื่นต่อย เพราะแมงป่องและตะขาบมีพิษมากกว่า บางคนที่ แพ้พิษสัตว์ประเภทนี้ อาจมีอาการปวดและบวมมาก มีไข้สูง คลื่นไส้ อาเจียน บางคนมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อและมีอาการชักด้วย (บุญส่ง เอี่ยมละออ. 2543 :127)
วิธีการปฐมพยาบาล

ใช้ผ้ารัดเหนือบริเวณแผล เพื่อป้องกันไม่ให้พิษแพร่กระจายออกไป ใช้มือบีบให้เลือดไหลออกจากบาดแผลให้มากที่สุดเลือดจะได้พาเอาพิษ ออกมาด้วถ้ามีอาการบวมอักเสบและปวดมาก ใช้ก้อนน้ำแข็งประคบบริเวณแผล เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด รับประทานยาแก้ปวด ถ้าอาการยังไม่ทุเลา ควรรีบนำส่งแพทย์
แมงกะพรุนไฟ
แมงกะพรุนไฟ

แมงกะพรุนไฟเป็นสัตว์ทะเล ซึ่งมีสารพิษอยู่ที่หนวดของมัน แมงกะพรุนไฟมีสีน้ำตาล เมื่อคนไปสัมผัสตัวแมงกะพรุนไฟ มันจะปล่อยพิษ ออกมาถูกผิวหนัง ทำให้รู้สึกปวดแสบปวดร้อนมาก ผิวหนังจะเป็นผื่นไหม้ บวม พองและแตกออก แผลจะหายช้า ถ้าถูกพิษมาก ๆ จะมีอาการรุนแรงถึงกับเป็นลมหมดสติ และ อาจเสียชีวิตได้ (บุญส่ง เอี่ยมละออ. 2543 :128)
วิธีการปฐมพยาบาล

ใช้ผ้าเช็ดขัดถูบริเวณที่ถูกพิษแมงกะพรุนไฟ เพื่อเอาพิษที่ค้างอยู่ออก ใช้นำยาแอมโมเนียชุบสาลีปิดบริเวณผิวหนังส่วนที่ถูกพิษนาน ๆ เพื่อฆ่าฤทธิ์กรด จากพิษของแมงกะพรุนไฟ ใช้น้ำยาแอมโมเนียชุบสำลีปิดบริเวณผิวหนังส่วนที่ถูกพิษนาน ๆ เพื่อฆ่าฤทธิ์กรด จากพิษของแมงกะพรุนไฟ
ถูกงูกัด

งู แบ่งออกเป็น 2 ชนิด 1. งูไม่มีพิษ เช่น งูกินปลา งูลายสอ งูเขียว ฯลฯ 2. งูมีพิษ เช่น งูเห่า งูจงอาง งูกะปะ งูแมวเซา ฯลฯ (กรมวิชาการ. 2535 : 58 )
ลักษณะของงู
1. งูไม่มีพิษ จะไม่มีเขี้ยว มีแต่ฟันธรรมดาแหลม ๆ เล็ก ๆ
งูไม่มีพิษกัด บาดแผลจะมีรอยฟันของงูที่บริเวณผิวหนังเป็นรอยสักเท่า ๆ กันหมด
2. งูมีพิษ จะมีเขี้ยวยาว 2 เขี้ยว อยู่ที่ด้านหน้าของขากรรไกรบน
งูมีพิษกัด บาดแผลจะมีรอยเขี้ยวของงูลึกลงไปในผิวหนัง 2 เขี้ยว และมีรอย เขี้ยวตื้น ๆ รอบบริเวณ
วิธีการปฐมพยาบาล

ใช้ผ้ารัดเหนือบาดแผลประมาณ 5 –10 เซนติเมตร โดยให้บริเวณที่ถูกรัดอยู่ ระหว่างแผลกับหัวใจ รัดให้แน่นพอสมควร แต่อย่าให้แน่นจนเกินไป พอให้ปลาย นิ้วก้อยสอดเข้าได้ เพื่อป้องกันไม่ให้พิษงูเข้าสู่หัวใจโดยรวดเร็ว และควรคลายผ้าที่รัด ทุก ๆ 10 นาที การคลายแต่ละครั้งไม่ควรนานเกิน 1 นาที ก่อนคลายผ้าที่รัดไว้ควรใช้ ผ้าอีกผืนหนึ่งรัดเหนืออวัยวะที่ถูกงูกัดขึ้นไปอีกเปลาะหนึ่ง เหนือรอยรัดเดิมเล็กน้อย จึงค่อยคลายผ้าที่รัดไว้เดิมออก ท าเช่นนี้เรื่อยไปจนกว่าจะได้ฉีดเซรุ่ม (กรมวิชาการ. 2535 : 59)
การเป็นลมธรรมดา

สาเหตุ
เกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งอาจเนื่องมาจาก ร่างกายอ่อนเพลียมาก อยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทไม่สะดวกออกก าลังกายมากเกินไป หรือ เกิดจากการที่จิตใจได้รับความกระทบกระเทือนอย่างกะทันหัน เช่น ดีใจมาก เสียใจมาก ตกใจมาก เป็นต้น ผู้ที่มีร่างกายอ่อนเพลียและผู้ที่มีความกังวลใจย่อมมีโอกาสเป็นลมได้ง่าย
อาการ
เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในขณะที่ยืนหรือนั่งอยู่ เริ่มด้วยความรู้สึกอ่อนเพลีย หน้าซีด ใจสั่น หายใจถี่ ชีพจรเต้นเร็วแต่เบา เหงื่อออกตามตัว ใบหน้า ฝ่ามือ และฝ่าเท้า ต่อมาจะรู้สึกเวียนศีรษะ ตาพร่า หน้ามืด หมดแรงและหมดสติ (บุญส่ง เอี่ยมละออ. 2543 :135)

นำผู้ป่วยเข้าในที่ร่ม ถ้าผู้ป่วยมีอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด ให้นั่งล ง สูดลมหายใจยาว ๆ ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ถ้าขาดน้ าอาจให้ดื่มน้ าน้อย ๆ เพื่อมิให้อาเจียน

ถ้าผู้ป่วยหมดสติ จัดให้ผู้ป่วยนอนราบ ระดับเท้าสูงกว่าศีรษะเล็กน้อย เพื่อให้เลือดไหลสู่สมองได้สะดวก
ขยายเครื่องแต่งกายให้หลวมและให้แอมโมเนียหอมสูดดม
ถูกน้ำร้อนลวก ไฟลวก

อาการ
1.บาดแผลไหม้เกรียมหรือหนังและเนื้อพอง
2. เจ็บปวดแสบปวดร้อนบริเวณบาดแผล (กรมวิชาการ. 2535 : 60)

วิธีการปฐมพยาบาล
ล้างด้วยน้ำเย็นบนแผลเบา ๆ นาน 10 –15 นาที เพื่อให้ความร้อนลดลง แล้วใช้ยาประเภทขี้ผึ้งหรือวาสลินบริสุทธิ์ทาที่บาดแผล ปิดด้วยผ้าพันแผล 2 ชิ้น เพื่อป้องกันถูกอากาศรอบนอก ถ้าแผลไหม้ เกรียมดำหรือหนังและเนื้อพอง ให้รีบน าส่งแพทย
